บึงฉวาก สุพรรณบุรี

บึงฉวาก สุพรรณบุรี เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชี้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรหรือชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1 – 3 เมตร

บน เส้นทางระหว่างอำเภอเดิมบาง- นางบวชจังหวัดสุพรรณบุรีไปอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทกลางบึงเต็มไปด้วย ดอกบัวหลวง ทั้งสีขาวและสีชมพู และในราวเดือนกันยายน – พฤษภาคม จะเห็นเป็ดแดงฝูงใหญ่ลอยตัวจับกลุ่มอยู่ตามกอบัว ที่นี่คือ “บึงฉวาก” ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ ปี 252 เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศใน พื้นที่ร่วม 2,000ไร่ นี้ไว้และด้วยความ หลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง บึงฉวากจึงถูกจัดให้เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตาม อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีมาตั้งแต่ปี 2541 ลักษณะที่เรียกมีบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ กว้างไกล สุดสายตาว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตาม อนุสัญญาแรมซาร์นั้นก็คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าวที่เป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตร

บึงฉวาก สุพรรณบุรี ประวัติการเป็นมา

บึงฉวาก สุพรรณบุรี นั้นเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของสายน้ำท่าจีน เมื่อผ่านระยะเวลาและการทับถมของตะกอนดินโคลน จึงทำให้ส่วนหนึ่งของแม่น้ำแยกตัวออกมาเป็นบึงรูปโค้ง มีขนาดใหญ่กินพื้นที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ก่อนหน้าที่จะประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้น ได้เข้ามาบุกเบิกพัฒนาพื้นที่รอบบึงเมื่อปี พ.ศ.2525 และเห็นว่าบึงฉวากมีธรรมชาติสวยงาม มีนกน้ำจำนวนมากมายอาศัยอยู่ จึงได้ประสานงานไปยังกรมป่าไม้ นับตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2526 เป็นต้นมาเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวากจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นครอบคลุมพื้นที่ 3.2 ตารางกิโลเมตร 

บึงฉวากรับน้ำจากคลองและทุ่งนาใกล้ๆ จึงมีตะกอนดินโคลนไหลเข้ามาทำให้บึงตื้นเขินนานเข้าพืชน้ำก็ขึ้นรก และเกิดน้ำเน่าเสีย ในปี 2537 จังหวัดสุพรรณบุรี โดย ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำโครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ สภาพธรรมชาติในบึงฉวาก บึงฉวากเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์หลายชนิด สังคมพืชและสัตว์ที่พบในบึงและบริเวณโดยรอบ ต่างเอื้อต่อการดำรงอยู่ของกันและกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย เช่น นกอีโก้ง เป็นนกน้ำที่มีสีน้ำเงินอมม่วงสวยงาม ตัวใหญ่ ขายาวนิ้วตีนยาวเอาไว้เดินบนจอกหรือใบบัวโดยเฉพาะ อาหารโปรดของนกอีโก้ง ได้แก่ หอยโข่ง หอยเชอรี่ ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดศัตรูในนาข้าวไปโดยปริยาย

ส่วน ตามชายบึงที่มี พงอ้อ แขม ธูปฤาษี หญ้าชนิดต่างๆ มักจะมีนกน้ำหลายชนิดอาศัยทำรัง เพราะช่วยพรางตาได้ดี และบริเวณใต้น้ำก็มีพืชน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว เป็นแหล่งวางไข่ของปลาและแมลง ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำและเป็นอาหารของพวก เต่า ปลา นกน้ำ เมื่อดูบนฝั่งจะเห็นว่ามีพวกไม้ยืนต้น เช่น ตะขบน้ำ จิก สะแกนา ไผ่ พุทรา มะขามเทศ พืชเหล่านี้นอกจากจะช่วยยึดหน้าดินริมตลิ่งแล้วยังเป็นที่ให้นกอาศัยสร้าง รังวางไข่ เช่น นกเขา นกกระจาบ นก ที่อพยพมาอยู่ที่บึงฉวากทุกปี คือ “นกเป็ดแดง” ซึ่งจะเริ่มเห็นข้ามมาอยู่ที่บึงฉวากเป็นฝูง ใหญ่ในช่วงฤดูหนาวตอนกลางวันเราจะเห็นเป็ดแดงหลบพักอยู่ตามกอบัว พอตอนเย็นช่วงใกล้ค่ำก็จะบินโผขึ้นเป็นฝูงใหญ่ออกไปหากินตามทุ่งนา เวลามองไกลๆ จะเห็นว่าบินช้าหัวและคอจะหอยต่ำกว่าลำตัง พร้อมกับส่งเสียงวี๊ด วี๊ด นกเป็ดแดงที่เห็นในบ้านเรามีทั้งที่เป้นนกประจำถิ่นและย้ายถิ่นเข้ามาช่วง ฤดูหนาว อาศัยตามทุ่งนา หนองบึง และทะเลสาบทั่วประเทศ พวกที่เป็นนกอพยพจะทยอยบินกลับในเดือนเมษายน และ นกปากห่าง ซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่ ขนสีเทาเกือบทั้งตัวที่สะโพก ขอบปีก และหางเป็นสีดำ ปากใหญ่ เวลาหุบปากตรงกลางปากจะไม่ติดกัน 

ทำให้คาบหอยโข่งหรือหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นอาหารโปรดได้ถนัด นกปากห่างเป็นนกที่อพยพเข้ามาประมาณช่วงเดือนตุลาคม หากินและเลี้ยงลูกจนโตจึงจะพากันบินอพยพกลับราวๆ เดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ ยังมีนกน้ำหลายชนิดที่ชอบทำรังเป็นกลุ่มและอยู่ปะปนรวมกันบนกออ้อกอพง และต้นไม้ต้นเดียวกันหรือต้นใกล้ๆ กันเช่น นกแขวก นกกระทุง นกยางควาย นกยางกรอก นกยางเปีย นกยางโทนใหญ่ นกช้อนหอยขาว นกกาน้ำเล็ก โดยสร้างรังด้วยใบอ้อ ใบพงหรือกิ่งไม้เล็กๆ แบบหยาบๆ เป็นกลุ่ม เพื่อช่วยกันระวังภัยและหาอาหารอยู่ตามบึงหรือทุ่งนา เช่น ปลา กบ เขียด กุ้ง หอย ปู แมลง หนู และงูธรรมชาติอันงดงามทั้งหลายเหล่านี้ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเที่ยวใน บึงฉวากและจะบันทึกอยู่เป็นความทรงจำที่สวยงามของทุกท่านตลอดไป นานเท่านาน

ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก โซนสวนสัตว์

ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ประกอบด้วย อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการ เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ การดูนก สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมาของบึงฉวาก มีตู้จำลองระบบนิเวศ ห้องฉายสไลด์วีดิทัศน์ ด้านนอกอาคารมี กรงเลี้ยงนก ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ สูง 25 เมตร ภายในกรงได้รับการตกแต่งให้ดูคล้าย สภาพธรรมชาติ ประกอบด้วยนกกว่า 45 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกกาบบัว นกเป็ดแดง ไก่ฟ้าพญาลอ และ ไก่ฟ้าสีทอง ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นไก่ฟ้าที่มีความสวยงามที่สุดในโลก มีการจำลองน้ำตกขนาดเล็กเอาไว้ภายในกรง ผู้เข้าชมจะเดินตามทางเดินที่จัดไว้ และได้สัมผัสใกล้ชิดกับนกต่าง ๆ ที่ปล่อยให้มีชีวิตอยู่ในสภาพแบบธรรมชาติ เดินผ่านหน้าเราไป หากเดินถัดไปจากกรงนก จะเป็นกรงเสือขนาดใหญ่ กรงเสือขนาดเล็ก มีเสือชนิดต่าง ๆ ให้ชมและ ที่พิเศษคือ มีลูกเสือดูดนมหมู และสัตว์สวยงามอีกหลายชนิด

1.เขตห้ามล่าสัตว์ป่า

2.กรงเสือและกรงสิงห์โต

กรงเสือและสิงโต ลักษณะภายในตกแต่งเป็นถ้ำและเนินหิน ให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นกรงเลี้ยงสัตว์ป่าตระกูลแมว อันได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว แมวดาว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกรงสัตว์ป่าหายากอีกหลายประเภท ที่จัดแสดงไว้ เช่น นกน้ำ นกยูงและไก่ฟ้าชนิดต่างๆ ม้าลาย อูฐ และนกกระจอกเทศ

3.สถานที่ถ่ายภาพร่วมกับสัตว์

เด็กจะได้สนุกสนานกับการถ่ายภาพบนหลังม้า หรือถ่ายภาพคู่กับลิงอุรังอุตัง เก็บไว้เป็นที่ระลึก

4.ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่า และกรงนกใหญ่

เดินชมภายในกรงนกใหญ่ ที่มีสภาพแวดล้อมคล้าย สภาพธรรมชาติ ชมพันธ์นกหายากกว่า 30 ชนิด เช่น นกยูง นกกาบบัว เป็ดแดง

5.เกาะกระต่าย

พื้นที่คล้ายเกาะ สร้างเป็นที่พักของกระต่าย 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เจอร์ซี่ วูลลี่ และสายพันธุ์แองโกร่า ที่มีความน่ารักและสวยงาม รวมทั้งยังมีกวางดาว เนื้อทราย และจากสาเหตุที่เป็นเกาะมีพื้นที่น้ำล้อมรอบ จึงเลี้ยงปลาไว้ในกระชังอีกจำนวนมาก เพื่อให้ผู้คนได้พักผ่อนอีกประเภทหนึ่ง โดยการให้อาหาร เช่น ปลาทอง ปลาคาร์ฟ ปลาสวายเผือก ฯลฯ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น.

6.ศูนย์รวมพันธุ์ไก่ และกรงสัตว์หายาก

เป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์ไก่ชนิดต่างๆ ทั้งสวยงาม และหายาก เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าสีทอง ไก่ฟ้าพญาลอ และสัตว์หายากอีกหลายชนิด

(ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 5 บาท)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่

ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก

เปิดทุกวัน

จันทร์-ศุกร์ 08-16.30 น.

เสาร์-อาทิตย์ 08.00-18.00 น.

โทร. 035-439206, 035-439210

สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก

โทร. 035-481250

บทความน่าสนใจ